อาการ ปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะวัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นสาเหตุในการบั่นทอนจิตใจชั้นดี เพราะนอกจากจะทรมานจากความเจ็บปวดแล้ว ก็ยังไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย
บริเวณหลังของเรา ประกอบด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อนของกล้ามเนื้อและกระดูกซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อพยุงร่างกายทำให้เราเคลื่อนไหวไปมาได้ หากเมื่อไหร่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง
1.กล้ามเนื้อหรือเอ็นตึง
2.กล้ามเนื้อกระตุก
3.กระดูกหักหรือหกล้ม
การเคลื่อนไหวของร่างกายที่นำไปสู่อาการปวดหลัง เช่น
-ยกของหนักเกินไป
-ยกของผิดท่า
-มีการเคลื่อนไหวร่างกายกะทันหัน เป็นต้น
-บิดตัวไม่ถูกวิธี
-ไอหรือจามแรง ๆ
-ยืดกล้ามเนื้อมากเกินไปจนทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ
-ยืนหรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน
-เอียงตัวไปด้านหน้า ขณะขับรถหรือใช้คอมพิวเตอร์
-ขับรถยนต์หรือมอเตอร์ไซ เป็นเวลานาน
-นอนบนที่นอนที่ไม่รองรับร่างกายและให้กระดูกสันหลังตรง
เหล่านี้ เป็นพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ดังนั้นควรสังเกตพฤติกรรมของตนเอง ว่ามีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ แต่นอกจากที่กล่าวมาข้างตนแล้ว สาเหตุของการปวดหลังอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวร่างกายเท่านั้น แต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น
1.อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา
เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับรากประสาทไขสันหลัง โดยจะปวดหลังส่วนล่างและก้นส่วนบนรวมถึงอาการชาที่ก้น อวัยวะเพศ และต้นขา บางครั้งอาจไปรบกวนทำงานของลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ
2.มะเร็งกระดูกสันหลัง การเกิดเนื้องอกบนกระดูกสันหลังอาจกดทับเส้นประสาทส่งผลให้มีอาการปวดหลัง
3.การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง
4.โรคเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานอักเสบ การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ หรือไตติดเชื้อ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
5.ความผิดปกติของการนอนหลับ ผู้ที่มีความผิดปกติของการนอนหลับ มักมีอาการปวดหลังมากกว่าคนอื่น ๆ
6.โรคงูสวัด การติดเชื้องูสวัด อาจส่งผลต่อเส้นประสาทอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง
การตรวจอาการปวดหลัง
1. การตรวจหาสาเหตุจากรังสี เพื่อดูการเรียงตัวของกระดูกและตรวจหาสัญญาณของโรคข้ออักเสบหรือความผิดปกติของกระดูก
2. สแกน MRI หรือ CT
3.การสแกนกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยสารกัมมันตภาพรังสี เพื่อตรวจหาเนื้องอกในกร ะดูกหรือกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน โดยกัมมันตภาพรังสีจะถูกฉีดเข้าไปในหลอดเลือดดำเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ
4 การตรวจไฟฟ้าวินิฉัย หรือ EMG ด้วยการวัดแรงกระตุ้นทางไฟฟ้าที่เกิดจากเส้นประสาทเพื่อตอบสนองต่อกล้ามเนื้อ
5.วินิจฉัยทางการสัมผัสหรือการคลำและการตรวจด้วยสายตา ซึ่งอาจต้องการดูผลการสแกนภาพและการตรวจเลือดและปัสสาวะ
การรักษาอาการปวดหลัง
1.ใช้ยาบรรเทาอาการปวดหลัง สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น ไอบูโพรเฟน หรือรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา เช่น การประคบร้อนหรือประคบน้ำแข็งบริเวณที่เจ็บปวด
2.การพักผ่อนจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจทำให้ปวดหลัง
3. การพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปออกไป เช่น
3.1 การให้ยาโคเดอีนหรือไฮโดรโคโดนซึ่งเป็นยาเสพติดในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด
3.2 กายภาพบำบัด เช่น การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เทคนิคการคลายกล้ามเนื้อบางส่วน
3.3 การฉีดคอร์ติโซนเข้าไปในช่องไขสันหลัง
3.4 โบท็อกซ์ ลดอาการปวด
3.5 ใช้การดึงหลัง เพื่อยืดกล้ามเนื้อ
3.6 การบำบัดด้วยการเปลี่ยนแนวคิดในการใช้ชีวิต การบำบัดวิธีนี้พบว่า ผู้ที่ได้รับการบำบัดมีแนวคิดในการอยากออกกำลังมากขึ้น
อาการปวดหลัง ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว ควรรีบหาทางรักษาให้เร็วที่สุด หากไม่สามารถหายได้ด้วยการรักษาด้วยจนเอง ก็ควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด เพราะกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นโครงสร้างที่สำคัญของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติ อาจทำให้ร่างกายของคุณสูญเสียประสิทธิภาพถาวร